การเก็บรักษามะม่วงให้ได้นาน

การห่อผล เพื่อลดการคายน้ำ และอาจป้องกันการติดต่อของโรค อาจใช้วัสดุห่อ อย่างใดอย่างหนึ่ง ร่วมกับการบรรจุภัณฑ์ ก่อนการจำหน่ายดังนี้ - ใช้กระดาษห่อเพื่อลดการเสียดสี - ใช้พลาสติกที่มีรูพรุนขนาดเล็กเพื่
การชะลอการเสื่อมคุณภาพ ทั้งจากทางกายภาพ และชีวภาพเพื่อให้สามารถเก็บรักษา หรือมีอายุวางจำหน่าย ได้นาน เมื่อมะม่วงถึงโรงเรือนคัดบรรจุ ควรปฏิบัติดังนี้ 
- คัดเลือกเอาผลที่มีตำหนิออก เช่น ผลที่มีแผล หรือลักษณะที่ผิดปกติจากโรค เช่น แอนแทรคโนส และขั้วผลเน่า หรือตำหนิจากแมลง เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย ราดำ เป็นต้น เพื่อมิให้เป็นแหล่ง แพร่กระจายของเชื้อที่เป็นสาเหตุให้เกิดการเน่าในภายหลัง 
- ตัดขั้วมะม่วงให้มีความยาวเหลือไม่เกิน 1 เซนติเมตร เพื่อให้น้ำยางไหลพุ่งออกจากผล 
- พักรอให้น้ำยางที่เหลือค่อย ๆ ไหลออกจากผลจนแห้ง ด้วยการคว่ำผลลงบนตะแกรงให้ไหล่ผล วางรองบนวัสดุที่ไม่คมหรือไม่ทำให้ผลมะม่วงเกิดแผลหรือช้ำปล่อยให้น้ำยางไหลผ่านช่องระบาย ลงท่อรองรับจนกว่าน้ำยางแห้ง 
- ล้างทำความสะอาดมะม่วงในน้ำที่สะอาด น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำที่ไหลหรือเปลี่ยนน้ำบ่อยครั้ง 
- ผึ่งให้น้ำที่เกาะบนผิวมะม่วงแห้ง 
- คัดขนาดผลและระดับคุณภาพ 
- บรรจุลงภาชนะหรือทำการปฏิบัติขั้นตอนต่อไปเพื่อการเก็บรักษา ขนส่ง หรือจำหน่าย 

การยืดอายุมะม่วง 
การยืดอายุมะม่วงระหว่างรอการจำหน่าย หรือการขนส่งอาจใช้ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกันดังนี้ 

การห่อผล 
เพื่อลดการคายน้ำ และอาจป้องกันการติดต่อของโรค อาจใช้วัสดุห่อ อย่างใดอย่างหนึ่ง ร่วมกับการบรรจุภัณฑ์ ก่อนการจำหน่ายดังนี้ 
- ใช้กระดาษห่อเพื่อลดการเสียดสี 
- ใช้พลาสติกที่มีรูพรุนขนาดเล็กเพื่อลดการคายน้ำและปรับสภาพแวดล้อมที่หุ้มห่อมะม่วงให้มี ความชื้นสูงพอเหมาะ โดยไม่เกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำ 

การลดอุณหภูมิและเพิ่มความชื้นสัมพันธ์ 
- เพื่อชะลอการหายใจและการคายน้ำ สามารถยืดอายุมะม่วงให้อยู่ในสภาพสดได้นานขึ้น 
- สภาพที่เหมาะสมในการเก็บรักษา คือ อุณหภูมิระหว่าง 13-15 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95% 
- หลีกเลี่ยงการใช้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 13 องศาเซลเซียส ในการเก็บรักษา เพราะอาจทำให้สีผิวของผลมะม่วง มีสีคล้ำหรือเปลี่ยนสี ผลน่วมฉ่ำน้ำ ถ้ารุนแรง ผลจะไม่สุกเนื่องจากอาการที่เรียกว่าสะท้านหนาว 
- สร้างความทนทานต่อความเย็นโดยวิธีการค่อย ๆ ลดระดับอุณหภูมิลงเป็นช่วงๆหรือเป็นระยะ เพื่อให้มะม่วงเกิดการปรับตัวต่อสภาพอุณหภูมิที่ต่ำได้ 

การเคลือบผิว 
- เพื่อให้ผิวมีความเงางามและลดการคายน้ำ ขณะเดียวกันยังช่วยยืดอายุการเก็บรักษา 
- สารที่ใช้เคลือบผิวอาจมีส่วนประกอบของไขคาร์นูบา ไขมันจากพืชหรือสัตว์ 
- สารเคลือบผิวที่ใช้ต้องปลอดภัยต่อผู้บริโภคและไม่มีผลเสียต่อคุณภาพของมะม่วง เช่น ทำให้ปริมาณ การแลกเปลี่ยนก๊าซ ในการหายใจของมะม่วงผิดปกติไป จนทำให้เกิดกลิ่นและรสที่ไม่พึงประสงค์ ประเทศในเอเซียและออสเตรเลียจึงไม่นิยมเคลือบผิวมะม่วงเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว 

การใช้สารยับยั้งการสังเคราะห์เอทธีลีน 
เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ในอนาคตอาจมีการใช้สารที่ยับยั้งการสังเคราะห์เอทธีลีน เพื่อชะลอการสุก สารดังกล่าว เช่น ไดอะไซเพนทาไดอีน (DACP)

การเก็บรักษามะม่วงให้ได้นาน

การห่อผล 

เพื่อลดการคายน้ำ และอาจป้องกันการติดต่อของโรค อาจใช้วัสดุห่อ อย่างใดอย่างหนึ่ง ร่วมกับการบรรจุภัณฑ์ ก่อนการจำหน่ายดังนี้ 

- ใช้กระดาษห่อเพื่อลดการเสียดสี 

- ใช้พลาสติกที่มีรูพรุนขนาดเล็กเพื่อลดการคายน้ำและปรับสภาพแวดล้อมที่หุ้มห่อมะม่วงให้มี ความชื้นสูงพอเหมาะ โดยไม่เกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำ